อำนาจหน้าที่

อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562)

  1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
  2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
    • จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
    • การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
    • ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
    • ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    • ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    • ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
    • คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
  3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
    • ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
    • ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
    • ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
    • ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
    • ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
    • ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
    • บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
    • การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
    • หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
    • ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
    • กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
    • การท่องเที่ยว
    • การผังเมือง

อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มี อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

  • การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  • การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
  • การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  • การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
  • การสาธารณูปการ
  • การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
  • คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • การจัดการศึกษา
  • การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
  • การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  • การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • การส่งเสริมกีฬา
  • การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
  • การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  • การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
  • การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
  • การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
  • การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  • การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
  • การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามยั โรงมหรสพ และสาธราณสถานอื่นๆ
  • การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การผังเมือง
  • การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
  • การดูแลรักษาที่สาธารณะ
  • การควบคุมอาคาร
  • การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และ ทรัพย์สิน
  • กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คระกรรมการประกาศกำหนด อบต.มีความสำคัญ อย่างไร

อบต. มีความสำคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตำบล)

  • เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาตำบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  • เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยเอกชนอื่น ๆ
  • เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น (สมาชิกสภา อบต.) เขาไปมีส่วนร่วมใน การ ตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
  • เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้ทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.
  • ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทำงานและใช้สิทธิ ถอดถอน ผู้แทนของตน(สมาชิกสภา)ที่ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

อบต.มีโครงสร้างอย่างไร โครงสร้าง อบต.ประกอบด้วย

  • สภาองค์การบริหารส่วนตำบล (สภา อบต.)
  • คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต. และรองนายก อบต.)

สมาชิก อบต. มีหน้าที่

  • ให้ความเหน็ชอบแผนพัฒนาตำบล
  • ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล / ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  • ควบคุมการทำงานของคณะผู้บริหาร
  • เข้าร่วมประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม

คณะผู้บริหาร อบต. (นายก อบต. และรองนายก อบต.) มีหน้าที่อะไรบ้าง คณะผู้บริหาร อบต.มีหน้าที่

  • บริหารงานของอบต. ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล
  • จัดทำแผนพัฒนาตำบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภาอบต.
  • รายงานผลการทำงาน และการใช้เงินสภา อบต. ทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมาย เข้าร่วมประชุมกับสภา อบต. ตามสมัยประชุม

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา “ข้อบังคับตำบล”ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน “ทุกข์” และ” สุข” ของประชาชนรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนั้นจึงต้อง เป็นผู้ที่ยึดมนั่นในหลักการประชาธิปไตยทื่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยัง ประชาชนในตำบล

แนวทางปฎิบัติในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีดังนี้

  • ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งดดยเสรี การใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้ง การแสดงความคิด เห็น อย่างกว้างขวาง การยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมาย ฯลฯ
  • ต้องมีวิถีการดำเนินชวีิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟัง เคารพ ในเหตุผล

ประชาชนในเขตอบต. มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

  • มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
  • ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.
  • เสนอให้ออกข้อบังคับตำบล
  • แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.
  • เข้าฟังการประชุมสภา อบต.
  • เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อย คณะละ 2 คน
  • มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตำบล
  • เสียภาษีแก่ อบต.
  • สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.
  • ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.
  • ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้าน ของตนให้เข้มแข็ง
  • ได้รับบริการสาธารณะ และการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข จาก อบต. ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.